วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การจัดการศึกษาและดูแลเด็ก เยาวชน Gen Z



การจัดการศึกษาและดูแลเด็ก เยาวชน Gen Z
-----------------------------------------------------------
........ผู้ที่เกิดหลังปี 1994 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีเวิร์ลไวด์เว็บ อินเทอร์เน็ตเบ่งบูม 
........ข้อมูลดิจิทัล เข้ามาแทน (substitute) กระดาษและหนังสือ 
........ก่อให้เกิดแหล่งความรู้เก็บสะสมบนคลาวด์ Cloud มากมายมหาศาล
-----------------------------------------------------------
........ผู้ที่เกิดในยุคนี้ จึงเรียกว่า ดิจิทัลเนทีฟ Digital native หรือ Gen Z 
........เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้ดิจิทัลได้เองโดยไม่ต้องมีใครสอน 
........ผูกพันและถนัดในการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ ทั้งแท็บเบล็ต สมาร์ทโฟน 
........มีอากู๋เป็นที่ปรึกษาส่วนตัว มีเพื่อนผ่านทางเครือข่ายสังคม
-----------------------------------------------------------
........ลักษณะเด่นของพวก Gen Z คุ้นเคยกับการใช้งานแบบมัลติทาสก์
........เพราะต้องเปิดหลายๆ วินโดว์ในการทำงาน 
........ทำงานหลายอย่างเวลาเดียวกันได้ มีการสื่อสารออนไลน์ และเครือข่ายสังคม 
........สื่ออารมณ์ด้วยตัวหนังสือ อีโมติคอนและสติกเกอร์ 
........มีการอวตารเป็นอาวาร์ตาร์ได้หลายตัว ไม่ชอบจดจำ 
........แต่เก็บความจำไว้บนคลาวด์ มีจินตภาพดี 
........ไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือลงรายละเอียด 
........มีความอดทนต่ำ รอคอยอะไรนานไม่ได้ สมาธิสั้น ฯลฯ
-----------------------------------------------------------
........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม 
........ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล 
........กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง 
........ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น 
........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป 
........เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ 
........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง(จากก้อนเมฆ)
-----------------------------------------------------------
........เดิมเป็นการศึกษาแบบทางเดียว one-way learning 
........เพื่อตอบสนอง manufacturing-based economy 
........จัดการศึกษาแบบ mass มาสู่ยุค digital technology 
........ยุคออนไลน์ interactive environment 
........การเรียนรู้จาก Cloud knowledge 
........ตอบสนอง Digital economy 
........โดยเปลี่ยนผ่านการเรียนแบบ Work sheets, passive learning and lecture-based teaching 
........ไปสู่ Active learning 
........เป็นการศึกษาผ่านระบบเปิด open มากขึ้น
-----------------------------------------------------------

            การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริงการเรียนวิชาในห้องเรียนยังเป็นการเรียนแบบสมมติ“ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่​ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด            

            ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้   ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่    
            ย้ำว่า   การเรียนรู้ยุคใหม่      ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑   
            หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน”  หรือสั่งสอน    ไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ 
            ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning  by  doing)   และศิษย์งอกงามทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้       
            จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน    เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ 
            ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงาน จากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น