วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑



ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

            คำถามสำคัญที่กำลังอยู่ในใจครูทุกคนคือ เรากำลังจะพบกับศิษย์  แบบไหนในอนาคต ศิษย์ของเราในวันนี้เป็นอย่างไร 
            ศิษย์ที่เป็นเด็กสมัยใหม่ หรือเป็นคนของศตวรรษที่ ๒๑ จะมีลักษณะอย่างไรนั้น ครูในศตวรรษที่  ๒๑ เอง ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ด้วย  

หนังสือ 21st Century Skills : Learning for Life in

Our Times 

ระบุลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่ไว้ดังนี้

• มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน
• ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน (customization & personalization)
• ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (scrutiny)
• เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา
• ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคมการร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
• ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
• สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต เราไม่จำเป็นต้องเชื่อหนังสือฝรั่ง เราอาจช่วยกันหาข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมว่า เด็กไทยสมัยใหม่เป็นอย่างไร นี่คือโจทย์หนึ่งสำหรับให้ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร. คศ.) ช่วยกันรวบรวม


            นอกจากนั้น ยังมีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าเด็กยุคใหม่เป็นคนยุคเจนเนอเรชัน (Generation Z) เป็นพวกที่ชอบใช้อินเทอร์เนต หรือที่เรียกกันว่าเป็นชาวเน็ต(netizen) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะนิสัยเพื่อประโยชน์ทางการตลาด
            ครูเพื่อศิษย์อาจช่วยกันศึกษา รวบรวมลักษณะของเด็กไทยยุคใหม่ เอาไว้ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ 
            ลักษณะอย่างหนึ่งของศิษย์ไทยคือ เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ 
            ทิ้งลูกไว้กับปู่ย่า หรือตายาย เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่เพราะพ่อแม่ตายไปแล้ว หรือพ่อแม่หย่าร้าง ต้องอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 
            หรือบางคนเป็นลูกติดแม่ โดยที่แม่แต่งงานใหม่และมีลูกกับสามีใหม่ เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ที่จะช่วยให้ความอบอุ่น ความรัก แก่เด็กที่ขาดแคลนเหล่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น