วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทักษะการเรยนรู้ ศตวรรษที่ 21


หลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ 
๕ ประการคือ
------------------------------------------------------
• Authentic learning
• Mental model building
• Internal motivation
• Multiple intelligence
• Social learning
-------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.........การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียน ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ
.........“ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด 
------------------------------------------------------------- 
.........ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ 
.........ย้ำครับว่า การเรียนรู้ยุคใหม่ ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑
.........หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอน ไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์
.........ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะ
.........เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีม ร่วมกับเพื่อนนักเรียน
-------------------------------------------------------------------
.........เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้ "มากกว่าตัวความรู้"
-------------------------------------------------------------------
.........ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงาน จากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม




เด็ก ๆ มีความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนเป็นทุน 
-----------------------------------------------
.........และเด็ก ๆ มีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หากสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย แต่ผมก็ยังเชื่อว่า ครูที่ดีจะช่วยเพิ่มพลัง และคุณค่าของการเรียนรู้ได้อีกมาก 
.........ในขณะเดียวกัน การศึกษาตามแนวทางปัจจุบัน ก็ทำลายความริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก



Authentic learning
------------------------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียน ยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ 
.........ดังนั้น ครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด กล่าวในเชิงทฤษฎีได้ว่า 
.........การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับบริบทหรือสภาพแวดล้อม ในขณะเรียนรู้ ห้องเรียนไม่ใช่บริบทที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึก
.........เพราะห้องเรียนไม่เหมือนสภาพในชีวิตจริง การสมมติโจทย์ที่คล้ายจะเกิดในชีวิตจริง ก็ได้ความสมจริงเพียงบางส่วน
.........แต่หากไปเรียนในสภาพจริงก็จะได้การเรียนรู้ในมิติที่ลึก และกว้างขวางกว่าสภาพสมมติ

.........การออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์เกิด “การเรียนรู้ที่แท้” (authentic learning) เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ในสภาพที่มีข้อจำกัดด้านเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ
.........รวมทั้งจากความเป็นจริงว่า เด็กนักเรียนในเมืองกับในชนบทมีสภาพแวดล้อมและชีวิตจริงที่แตกต่างกันมาก



Mental Model Building
----------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์ อาจมองอีกมุมหนึ่งว่า เป็น authentic learning แนวหนึ่ง 
ผมมองว่านี่คือ การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา แต่ในความหมาย
.........ข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสม จนเกิดเป็นกระบวนทัศน์ (หรือความเชื่อ ค่านิยม) 
.........และที่สำคัญกว่านั้นคือ สั่งสมประสบการณ์ใหม่ เอามาโต้แย้งความเชื่อหรือค่านิยมเดิม ทำให้ละจากความเชื่อเดิม หันมายึดถือความเชื่อ หรือกระบวนทัศน์ใหม่ 

.........นั่นคือ เป็นการเรียนรู้ (how to learn, how to unlearn/ delearn, how to relean) ไปพร้อม ๆ กัน
.........ทำให้เป็นคนที่มีความคิดเชิงกระบวนทัศน์ชัดเจน และเกิดการเรียนรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้
แต่การจะมีทักษะหรือความสามารถขนาดนี้ 

.........จำต้องมีความสามารถรับรู้ข้อมูลหลักฐานใหม่ ๆ และนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้


Internal Motivation
-------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคน ไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครู หรือพ่อแม่ 
.........เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครู หรือพ่อแม่ จะเรียนได้ไม่ดี เท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียน
เมื่อเด็กมีฉันทะ และได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องจากครู 

.........วิริยะ จิตตะ และวิมังสา (อิทธิบาทสี่) ก็จะตามมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยง


Multiple Intelligence
------------------------------------------------------------
.........เวลานี้เป็นที่เชื่อกันทั่วไปแล้วว่า มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และเด็กแต่ละคน มีความถนัดหรือปัญญา ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน 
รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน 
.........ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ในการจัดการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน 
.........และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว (personalized learning) เรื่องนี้มีการวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้ได้มากมาย
.........ดังตัวอย่าง Universal Design for Learning ซึ่งก็คือ เครื่องมือสร้างความยืดหยุ่นหลากหลายในการออกแบบการเรียนรู้นั่นเอง



Social Learning
--------------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ครูเพื่อศิษย์ก็จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคม 
.........เพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียน เพราะการเรียนจะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลที่หงอยเหงาน่าเบื่อ 
.........ขออนุญาตย้ำนะครับว่า อย่าติดทฤษฎี หรือเชื่อตามหนังสือจนเกินไปจนไม่กล้าทดลองวิธีคิดใหม่ ๆ 
.........ที่อาจจะเหมาะสมต่อศิษย์ของเรา มากกว่าแนวคิดแบบฝรั่ง เราอาจคิดหลักการเรียนรู้ตามแบบของเราที่เหมาะสม ต่อบริบทสังคมไทยขึ้นมาใช้เองก็ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น