วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑



ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

            คำถามสำคัญที่กำลังอยู่ในใจครูทุกคนคือ เรากำลังจะพบกับศิษย์  แบบไหนในอนาคต ศิษย์ของเราในวันนี้เป็นอย่างไร 
            ศิษย์ที่เป็นเด็กสมัยใหม่ หรือเป็นคนของศตวรรษที่ ๒๑ จะมีลักษณะอย่างไรนั้น ครูในศตวรรษที่  ๒๑ เอง ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ด้วย  

หนังสือ 21st Century Skills : Learning for Life in

Our Times 

ระบุลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่ไว้ดังนี้

• มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน
• ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน (customization & personalization)
• ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (scrutiny)
• เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา
• ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคมการร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
• ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
• สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต เราไม่จำเป็นต้องเชื่อหนังสือฝรั่ง เราอาจช่วยกันหาข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมว่า เด็กไทยสมัยใหม่เป็นอย่างไร นี่คือโจทย์หนึ่งสำหรับให้ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร. คศ.) ช่วยกันรวบรวม


            นอกจากนั้น ยังมีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าเด็กยุคใหม่เป็นคนยุคเจนเนอเรชัน (Generation Z) เป็นพวกที่ชอบใช้อินเทอร์เนต หรือที่เรียกกันว่าเป็นชาวเน็ต(netizen) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะนิสัยเพื่อประโยชน์ทางการตลาด
            ครูเพื่อศิษย์อาจช่วยกันศึกษา รวบรวมลักษณะของเด็กไทยยุคใหม่ เอาไว้ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ 
            ลักษณะอย่างหนึ่งของศิษย์ไทยคือ เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ 
            ทิ้งลูกไว้กับปู่ย่า หรือตายาย เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่เพราะพ่อแม่ตายไปแล้ว หรือพ่อแม่หย่าร้าง ต้องอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 
            หรือบางคนเป็นลูกติดแม่ โดยที่แม่แต่งงานใหม่และมีลูกกับสามีใหม่ เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ที่จะช่วยให้ความอบอุ่น ความรัก แก่เด็กที่ขาดแคลนเหล่านี้

การจัดการศึกษาและดูแลเด็ก เยาวชน Gen Z



การจัดการศึกษาและดูแลเด็ก เยาวชน Gen Z
-----------------------------------------------------------
........ผู้ที่เกิดหลังปี 1994 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีเวิร์ลไวด์เว็บ อินเทอร์เน็ตเบ่งบูม 
........ข้อมูลดิจิทัล เข้ามาแทน (substitute) กระดาษและหนังสือ 
........ก่อให้เกิดแหล่งความรู้เก็บสะสมบนคลาวด์ Cloud มากมายมหาศาล
-----------------------------------------------------------
........ผู้ที่เกิดในยุคนี้ จึงเรียกว่า ดิจิทัลเนทีฟ Digital native หรือ Gen Z 
........เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้ดิจิทัลได้เองโดยไม่ต้องมีใครสอน 
........ผูกพันและถนัดในการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ ทั้งแท็บเบล็ต สมาร์ทโฟน 
........มีอากู๋เป็นที่ปรึกษาส่วนตัว มีเพื่อนผ่านทางเครือข่ายสังคม
-----------------------------------------------------------
........ลักษณะเด่นของพวก Gen Z คุ้นเคยกับการใช้งานแบบมัลติทาสก์
........เพราะต้องเปิดหลายๆ วินโดว์ในการทำงาน 
........ทำงานหลายอย่างเวลาเดียวกันได้ มีการสื่อสารออนไลน์ และเครือข่ายสังคม 
........สื่ออารมณ์ด้วยตัวหนังสือ อีโมติคอนและสติกเกอร์ 
........มีการอวตารเป็นอาวาร์ตาร์ได้หลายตัว ไม่ชอบจดจำ 
........แต่เก็บความจำไว้บนคลาวด์ มีจินตภาพดี 
........ไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือลงรายละเอียด 
........มีความอดทนต่ำ รอคอยอะไรนานไม่ได้ สมาธิสั้น ฯลฯ
-----------------------------------------------------------
........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม 
........ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล 
........กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง 
........ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น 
........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป 
........เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ 
........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง(จากก้อนเมฆ)
-----------------------------------------------------------
........เดิมเป็นการศึกษาแบบทางเดียว one-way learning 
........เพื่อตอบสนอง manufacturing-based economy 
........จัดการศึกษาแบบ mass มาสู่ยุค digital technology 
........ยุคออนไลน์ interactive environment 
........การเรียนรู้จาก Cloud knowledge 
........ตอบสนอง Digital economy 
........โดยเปลี่ยนผ่านการเรียนแบบ Work sheets, passive learning and lecture-based teaching 
........ไปสู่ Active learning 
........เป็นการศึกษาผ่านระบบเปิด open มากขึ้น
-----------------------------------------------------------

            การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริงการเรียนวิชาในห้องเรียนยังเป็นการเรียนแบบสมมติ“ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่​ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด            

            ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้   ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่    
            ย้ำว่า   การเรียนรู้ยุคใหม่      ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑   
            หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน”  หรือสั่งสอน    ไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ 
            ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning  by  doing)   และศิษย์งอกงามทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้       
            จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน    เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ 
            ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงาน จากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม

แนะนำทางก้าวสู่ครูยุคใหม่



แนะนำทางก้าวสู่ครูยุคใหม่ ดังต่อไปนี้ 
-----------------------------------------------------------------------
.......1.  ปรับเปลี่ยนตนเองด้วยการเป็นครูแห่งยุคสมัย แม้ท่านจะเป็นครูเก่า ครูแก่ที่รับราชการครูมานาน 
.......ก็ไม่ใช่อุปสรรคอันใดที่จะทำให้ท่านก้าวสู่ความ ครูยุคใหม่ได้ เพียงแต่ท่านต้องสลัดความเคยชิน 
.......สลัดคราบไคลเก่า ๆ ที่เคยเป็นอยู่อย่างล้าหลัง แล้วหมั่นเข้ารับการอบรม ฝึกฝนตนเองในสิ่งที่เรา
.......ยังไม่รู้ ยังไม่เกิด  ยังไม่มี  ยังไม่เป็น  ให้รู้  ให้มี  ให้เป็นตามที่ควรให้เกิดมี  
.......อย่าได้คิดว่าตนเองแก่แล้ว  อายุมากแล้ว ท่านจะต้องกล้าก้าวไปกับครูรุ่นใหม่อย่างมั่นใจ  
.......อย่างไรก็ไปตามครูรุ่นใหม่ไม่ได้หรอก
-----------------------------------------------------------------------
.........2.  ควรทำตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ลักษณะของบุคคลแห่งการเรียนรู้  คือคนที่ทำตนเองให้พร้อม
.......สำหรับรับความรู้ที่แปลกใหม่ที่ถาโถมเข้ามาอยู่เสมอ อย่าคิดว่าตนเก่งแล้ว ดีแล้ว พร้อมมูลแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว
.......ไม่รับอีกแล้ว  อย่าตนทำเป็นน้ำชาล้นถ้วย แต่ควรทำตนเป็นคนพร่องสำหรับการเติมเต็มอยู่เสมอ  
.......หากท่านทำตนได้เช่นนี้ ก็จะทำให้ท่านพร้อมที่จะรับฟังคนอื่น พร้อมที่จะเข้ารับการอบรมด้วยใจใฝ่รู้  
.......พร้อมที่จะแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ นั่นคือต้นธารของความรู้ ที่จะนำสู่ท่าน 
.......และถ่ายโอนสู่เด็กในโอกาสต่อไป
-------------------------------------------------------------------------
.......3.  ควรศึกษาเทคนิค  วิธีการ  การจัดการเรียนรู้ ของนักการศึกษาอย่างหลากหลาย  
.......เพื่อนำความรู้มาดัดแปลง  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  ให้สอดคล้องกับธรรมชาติวิชา  
.......บริบทของโรงเรียน  และศักยภาพของผู้เรียน  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน  
........มีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป
-------------------------------------------------------------------------
.......4.  ควรศึกษาวิธีการจัดทำสื่อ นวัตกรรมของนักการศึกษ ครูที่ประสบความสำเร็จ
.......ด้านการจัดการเรียนรู้  โดยใช้สื่ออย่างหลากหลาย มาดัดแปลงออกแบบสื่อ  นวัตกรรม
.......เป็นของตนเองเพื่อใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และศักยภาพนักเรียนของตน  
.......ในอันที่จะพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
-------------------------------------------------------------------------
.......5.  ฝึกการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล  รวบรวมข้อมูล  ศึกษาปัญหาเด็กทั้งก่อนเรียน  
......ขณะเรียนและหลังเรียน เพื่อนำสู่การวิจัยในชั้นเรียนและนำสู่การแก้ปัญหาเด็ก อย่างเป็นระบบ  
......เรื่องนี้ท่านอาจเห็นว่าเป็นเรื่องยาก  เป็นสิ่งที่ครูเก่าครูแก่ไม่เข้าใจ  หรือเข้าใจยาก  ทำไม่ได้  
......อันที่จริงสิ่งใดก็ตามที่มีคนอื่นทำไว้ก่อนแล้ว  นำทางก่อนแล้ว  
......ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินไปที่เราจะเดินตามได้  การวิจัยในชั้นเรียนก็เช่นเดียวกัน  
......เราเป็นครูที่สามารถอ่านออก  เขียนได้  คิดและวิเคราะห์เป็น
......ย่อมไม่เกินความสามารถเราที่จะทำด้วยได้  
......ขอเพียงให้ท่านมีจิตใจใฝ่รู้  เสียเวลาให้กับเรื่องนี้บ้างเล็กน้อยเท่านั้นก็สามารถทำได้แล้ว
-------------------------------------------------------------------------
.......6.  ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ ๆ อยู่เสมอ 
.......ซึ่งท่านสามารถศึกษาได้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  เช่น  จากตำรา  เอกสารที่ผู้มีประสบการณ์  
.......มีความรู้จัดทำไว้  ศึกษาจากตัวอย่างที่นักการศึกษา  ครู  หลายท่านจัดทำไว้  แล้วนำมาดัดแปลง  
.......ออกแบบเป็นของตนเอง  เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้
.......ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่ต้องการจัดให้  เช่น  แผนฯแก้ปัญหาการอ่าน  เขียน  การคิดวิเคราะห์  การบูรณาการเป็นต้น
-------------------------------------------------------------------------
.......7. ควรศึกษาวิธีการดำเนินชีวิตของครู  นักการศึกษา  นักคิดหรือแม้กระทั่งผู้คนทุกสาขาอาชีพที่ประสบความสำเร็จในชีวิต  
......และต้องศึกษาจากหลายตัวอย่าง  เพื่อจะได้รู้ผู้คนจากหลายมุมมอง  โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ 
......มีความยุ่งยากในการดำเนินชีวิต  เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างการศึกษารายกรณี  
......ซึ่งจะเป็นผลดีในด้านกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป  เพราะหากเราไม่พอใจในความเป็นอยู่ของตนเอง  
......เกิดท้อแท้ในชีวิตก็จะเป็นปัญหาต่อการครองตน  และจะมีปัญหาต่อการครองคนและครองงานตามมาด้วย
-------------------------------------------------------------------------
.......8.  ควรศึกษาศิลปะการสร้างแรงจูงใจให้เด็กเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน  ให้เขาเป็นคนดี  คนเก่งและดำเนินชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข

......9.  ควรศึกษาวิธีการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  ตามวิธีของคนที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้มาก่อนแล้ว   
......และศึกษาคำสอนของศาสนาต่าง ๆ เพื่อให้เห็นและเข้าใจเป้าหมายของชีวิตอย่างแท้จริง  
......โดยเฉพาะศาสนาที่ตนเองนับถือ  แล้วนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
-------------------------------------------------------------------------
.......และนี่คือข้อแนะนำเพียงบางส่วนเท่านั้นสำหรับการก้าวสู่ครูยุคใหม่  
.......ความจริงยังมีวิธีอื่นอีกมากมายที่ท่านสามารถพัฒนาตนเอง  
.......และสร้างแบบวิธีการของตนเองเพื่อก้าวสู่วิถีครูยุคใหม่ตามต้องการอย่างภาคภูมิ
-------------------------------------------------------------------------

ทางก้าวสู่ครูยุคใหม่



ทางก้าวสู่ครูยุคใหม่- ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองเสมอ

.......แนวทางที่จะเป็นครูยุคใหม่นั้นควรทำอย่างไร ในฐานะที่อยู่ในวงการครูมานาน(พอสมควร
.......ลักษณะของครูยุคใหม่ จะเห็นได้ว่าครูยุคใหม่  ก็คือครูธรรมดาที่ไม่ใช่ธรรมดา  
.......เพราะครูยุคใหม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่เสมอ
  -----------------------------------------------------------------------
.......ซึ่งแม้จะเป็นครูเก่า ครูแก่ ที่รับราชการครูมานานแล้ว ก็สามารถพัฒนาตนเองให้เป็น  “ครูยุคใหม่”  ได้  
.......เพียงแต่ท่านเปลี่ยนแปลง หรือพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงตนเองเท่านั้น 
.......หากท่านไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่มี มาอย่างรอบด้าน 
.......และไม่ปรับตนเอง  ท่านก็ไม่อาจเรียกได้ว่า เป็น  “ครูยุคใหม่” ตามนัยที่กล่าวข้างต้น
-----------------------------------------------------------------------
.......ปัจจุบันนี้มีวงการศึกษา  โดยเฉพาะในวงการครูกำลังตื่นตัว ในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา(รอบสอง) เป็นอย่างมาก  
.......เพราะแต่ละเขตพื้นการศึกษา ที่จัดให้มีการอบรมสัมมนาครูกันอย่างกว้างขวาง มีการจัดสอบความรู้ครู 
.......เพื่อนำผู้ที่ได้คะแนนมาก ไปพัฒนาเป็น “ครูมาตรฐาน”  หรือที่เรียกว่า  “Master  teacher” 
.......ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการสอบความรู้ครู ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรียก ว่า  “E-TRAINIG”  
.......ซึ่งเป็นการบังคับครูไปในตัว ว่าครูจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ได้และเป็น จึงจะเข้าสู่กระบวนการทดสอบตามแนวนี้ได้  
-----------------------------------------------------------------------
.......นั่นก็หมายถึงว่าครูเก่า ครูแก่ทั้งหลาย จะต้องพัฒนาตนเองให้สามารถเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายการเรียนรู้ อย่างอินเทอร์เน็ตได้ 
.......นั่นคือสิ่งที่ครูยุคใหม่จะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ และนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน การศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร  
.......ออกแบบการจักการเรียนรู้  จัดสื่อ นวัตกรรม  จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข  
.......นำปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนไปทำวิจัยในชั้นเรียน และทำการวัดและประเมินตามสภาพจริง โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

-----------------------------------------------------------------------

ลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่


ลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่
--------------------------------------------------
.........• มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน
.........• ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน (customization & personalization)
.........• ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (scrutiny)
.........• เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา
.........• ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคมการร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
.........• ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
.........• สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต เราไม่จำเป็นต้องเชื่อหนังสือฝรั่ง เราอาจช่วยกันหาข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมว่า เด็กไทยสมัยใหม่เป็นอย่างไร 




.........นี่คือโจทย์หนึ่งสำหรับให้ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ช่วยกันรวบรวม
.........นอกจากนั้น ยังมีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าเด็กยุคใหม่เป็นคนยุคเจนเนอเรชัน (Generation Z)
.........เป็นพวกที่ชอบใช้อินเทอร์เนต หรือที่เรียกกันว่าเป็นชาวเน็ต (netizen) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะนิสัยเพื่อประโยชน์ทางการตลาด
.........ครูเพื่อศิษย์อาจช่วยกันศึกษา รวบรวมลักษณะของเด็กไทยยุคใหม่ เอาไว้ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้
.........ลักษณะอย่างหนึ่งของศิษย์ไทยคือ เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ
.........ทิ้งลูกไว้กับปู่ย่า หรือตายาย เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่เพราะพ่อแม่ตายไปแล้ว หรือพ่อแม่หย่าร้าง ต้องอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
.........หรือบางคนเป็นลูกติดแม่ โดยที่แม่แต่งงานใหม่และมีลูกกับสามีใหม่ เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ที่จะช่วยให้ความอบอุ่น ความรัก แก่เด็กที่ขาดแคลนเหล่านี้
--------------------------------------------------

ทักษะการเรยนรู้ ศตวรรษที่ 21


หลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ 
๕ ประการคือ
------------------------------------------------------
• Authentic learning
• Mental model building
• Internal motivation
• Multiple intelligence
• Social learning
-------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.........การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียน ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ
.........“ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด 
------------------------------------------------------------- 
.........ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ 
.........ย้ำครับว่า การเรียนรู้ยุคใหม่ ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑
.........หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอน ไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์
.........ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะ
.........เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีม ร่วมกับเพื่อนนักเรียน
-------------------------------------------------------------------
.........เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้ "มากกว่าตัวความรู้"
-------------------------------------------------------------------
.........ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงาน จากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม




เด็ก ๆ มีความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนเป็นทุน 
-----------------------------------------------
.........และเด็ก ๆ มีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หากสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย แต่ผมก็ยังเชื่อว่า ครูที่ดีจะช่วยเพิ่มพลัง และคุณค่าของการเรียนรู้ได้อีกมาก 
.........ในขณะเดียวกัน การศึกษาตามแนวทางปัจจุบัน ก็ทำลายความริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก



Authentic learning
------------------------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียน ยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ 
.........ดังนั้น ครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด กล่าวในเชิงทฤษฎีได้ว่า 
.........การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับบริบทหรือสภาพแวดล้อม ในขณะเรียนรู้ ห้องเรียนไม่ใช่บริบทที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึก
.........เพราะห้องเรียนไม่เหมือนสภาพในชีวิตจริง การสมมติโจทย์ที่คล้ายจะเกิดในชีวิตจริง ก็ได้ความสมจริงเพียงบางส่วน
.........แต่หากไปเรียนในสภาพจริงก็จะได้การเรียนรู้ในมิติที่ลึก และกว้างขวางกว่าสภาพสมมติ

.........การออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์เกิด “การเรียนรู้ที่แท้” (authentic learning) เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ในสภาพที่มีข้อจำกัดด้านเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ
.........รวมทั้งจากความเป็นจริงว่า เด็กนักเรียนในเมืองกับในชนบทมีสภาพแวดล้อมและชีวิตจริงที่แตกต่างกันมาก



Mental Model Building
----------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์ อาจมองอีกมุมหนึ่งว่า เป็น authentic learning แนวหนึ่ง 
ผมมองว่านี่คือ การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา แต่ในความหมาย
.........ข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสม จนเกิดเป็นกระบวนทัศน์ (หรือความเชื่อ ค่านิยม) 
.........และที่สำคัญกว่านั้นคือ สั่งสมประสบการณ์ใหม่ เอามาโต้แย้งความเชื่อหรือค่านิยมเดิม ทำให้ละจากความเชื่อเดิม หันมายึดถือความเชื่อ หรือกระบวนทัศน์ใหม่ 

.........นั่นคือ เป็นการเรียนรู้ (how to learn, how to unlearn/ delearn, how to relean) ไปพร้อม ๆ กัน
.........ทำให้เป็นคนที่มีความคิดเชิงกระบวนทัศน์ชัดเจน และเกิดการเรียนรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้
แต่การจะมีทักษะหรือความสามารถขนาดนี้ 

.........จำต้องมีความสามารถรับรู้ข้อมูลหลักฐานใหม่ ๆ และนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้


Internal Motivation
-------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคน ไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครู หรือพ่อแม่ 
.........เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครู หรือพ่อแม่ จะเรียนได้ไม่ดี เท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียน
เมื่อเด็กมีฉันทะ และได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องจากครู 

.........วิริยะ จิตตะ และวิมังสา (อิทธิบาทสี่) ก็จะตามมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยง


Multiple Intelligence
------------------------------------------------------------
.........เวลานี้เป็นที่เชื่อกันทั่วไปแล้วว่า มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และเด็กแต่ละคน มีความถนัดหรือปัญญา ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน 
รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน 
.........ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ในการจัดการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน 
.........และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว (personalized learning) เรื่องนี้มีการวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้ได้มากมาย
.........ดังตัวอย่าง Universal Design for Learning ซึ่งก็คือ เครื่องมือสร้างความยืดหยุ่นหลากหลายในการออกแบบการเรียนรู้นั่นเอง



Social Learning
--------------------------------------------------------------
.........การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ครูเพื่อศิษย์ก็จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคม 
.........เพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียน เพราะการเรียนจะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลที่หงอยเหงาน่าเบื่อ 
.........ขออนุญาตย้ำนะครับว่า อย่าติดทฤษฎี หรือเชื่อตามหนังสือจนเกินไปจนไม่กล้าทดลองวิธีคิดใหม่ ๆ 
.........ที่อาจจะเหมาะสมต่อศิษย์ของเรา มากกว่าแนวคิดแบบฝรั่ง เราอาจคิดหลักการเรียนรู้ตามแบบของเราที่เหมาะสม ต่อบริบทสังคมไทยขึ้นมาใช้เองก็ได้